ยินดีต้อนรับ สู่ระบบปฏิบัติการ Android

ยินดีต้อนรับสู่ระบบปฏิบัติการ Android

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555


แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์  จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยGoogle และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางGoogleได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีโทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication



Android OS คืออะไร


Android OS คือระบบปฏิบัติการบนมือถือ (Operating System)ระบบปฏิบัติการ Android ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยค่าย Google ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ OpenSource จึงมีคนเริ่มดัดแปลงให้ใช้กับ Netbook ได้ด้วย

หากเป็น คอมพิวเตอร์ที่ใช้
Windows หรือ Linux เราเรียกมันว่า ระบบปฏิบัติการนั้นว่า (OS) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ลง Windows ก็จะเปิดเครื่องเพื่อทำงานไม่ได้ โทรศัพท์มือถือ SmartPhone ก็เช่นเดียวกัน มันต้องการ OS ซึ่งใน iPhone นั้นบริษัทแอปเปิ้ลใช้ OS ที่ชื่อว่า iPhone OS ในขณะที่บริษัทกูเกิ้ล(Google) บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที อีกรายก็ได้ซุ่มพัฒนา OS ที่มีชื่อว่า Android(แอนดรอยด์) OS ขึ้นมา

ความแตกต่างกันของ iPhone และ Android Phone ก็คือ iPhone มีผู้ผลิตรายเดียวคือแอปเปิ้ล จะไม่มีใครในโลกนี้ สามารถเอามือถือมาลง iPhone OS กลายเป็น iPhone มาขายได้อย่างแอปเปิ้ล ในขณะที่ Android (แอนดรอยด์) Phone นั้นใครๆก็เอาไปใช้ได้ เพราะกูเกิ้ลแจก Android OS ฟรี นอกจากใช้ได้แล้ว Google ยังให้เราสามารถเข้าไปแก้ไขดัดแปลง เจ้า Android ให้เป็นเวอร์ชั่นของเราได้อีกด้วยครับ




 ข้อดี VS ข้อเสีย ของ Android!!

ข้อดีของ Android


1. ความเข้ากันได้ระหว่างมือถือกับระบบ : ด้วยความที่เป็นOpen-Source ทำให้ค่ายมือถือสามารถหาทางออกร่วมกันในแง่ข้อกำหนดขั้นต่ำที่จะใช้Android และด้วยความที่เป็น Open-Source จึงมีคนเริ่มดัดแปลงให้ใช้กับNetbook ได้ด้วย

2. ราคา : Open-Source ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ แถมยังเข้ากันได้กับตัวเครื่องเนื่องจากร่วมกันผลิต ดังนั้นต้นทุนผลิตจึงต่ำ และตัวแอนดรอยด์ (ไม่รวมราคาของเครื่องที่ใช้) ถูกกว่าos ของ iphone

3. เราสามารถพัฒนาเองโดยไม่ต้องส่งคืนไปให้ที่บริษัทแม่ในต่างประเทศ เหมือนเทคโนโลยีอื่นๆ ก่อนหน้านี้ เนื่องจากเป็นระบบเปิด จึงสามารถพัฒนาได้เอง ในส่วนของซอฟต์แวร์ภายในเครื่องนั้น 90% จากต่างประเทศและอีก10% เป็นของคนไทย โดยใช้ platform android ที่สามารถพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างแทบไม่มีขีดจำกัด ตัวพัฒนาโปรแกรมใน android(SDK) นั้นสามารถโหลดมาใช้ได้ฟรีๆ และไม่ได้มีข้อจำกัดเหมือน iphone ที่เวลาโอนถ่ายข้อมูลระหว่างโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์ต้องต่อสายและโอนข้อมูลผ่านitune เท่านั้น

4. หากเทียบกับ iphone แล้ว Androidเน้นในเรื่องการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย สามารถตกแต่งได้ตามใจชอบมากกว่า

5. สามารถใช้งานด้วยนิ้วได้สะดวกและลื่นไหล

6. สามารถทำงานได้เร็วกว่า windows mobile เร็วพอๆกับ iphone ในมาตรฐานราคา licences ที่เท่ากัน





ข้อเสียของ Android

 

1. เนื่องจากเป็นน้องใหม่ในตลาด โปรแกรมที่จะใช้ได้กับระบบยังไม่เยอะ มีโปรแกรมเสริมให้เลือกน้อย การพัฒนาอาจจะล่าช้ากว่า commercial software เมื่อระบบพัฒนาถึงจุดๆหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหากับผู้ใช เนื่องจากผู้ใช้คงไม่ได้อัพเกรดระบบซักเท่าไหร่นัก

2. Process : เราไม่สามารถปิดProcess เองได้ ถ้าเปิดโปรแกรมอะไรขึ้นมามันจะรันอยู่อย่างนั้นตลอดซึ่งจะทำให้เครื่องช้าลงเรื่อยๆ ต้องมาลงโปรแกรม Task Manager คอยปิด Process ทำให้ยุ่งยากมากขึ้น

3. เมื่อเทียบกับ WindowMobile ในแง่ความแพร่หลายของโปรแกรม, การใช้งานGPS และการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windowsแล้ว Android ยังสู้ไม่ได้อย่างแน่นอน อีกทั้งการใช้งานร่วมกับภาษาไทยยังไม่รู้ว่าจะทำได้ดีขนาดไหนอีกด้วย

4. ใช้งานยากเพราะเมนูซับซ้อน ต้องทำความเข้าใจก่อน

5. ต้องต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาจึงจะใช้ฟังก์ชันได้เต็มที่




  อุปกรณ์ที่ใช่ ระบบปฏิบัติการ  Android !!

แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล



รูปภาพจาก :

รูปภาพจาก: http://www.mxphone.net/review-motorola-xoom/

รูปภาพจาก : http://www.pocketpcthai.com/content/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD-smartphone-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1

 

 




แหล่งที่มา :
http://www.youtube.com/watch?v=mnkABetNJyk

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C




รูปภาพ :
http://www.techxcite.com/topic/6141.html
http://www.mxphone.net/review-motorola-xoom/